มัดรวม ตำแหน่งงานสาย Cybersecurity 

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มาพร้อมกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้องค์กรต่างก็มองหาผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity ที่มีความสามารถ มาช่วยวางแผน และพัฒนาระบบปกป้องข้อมูลสำคัญ อาชีพ Cyber Security จึงกลายเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการสูงในทั่วโลก นอกจากผลตอบแทนดี ยังท้าทายศักยภาพที่มีตลอดเวลา 

วันนี้เราจะพามาดูกันว่า สายงาน Cybersecurity มีตำแหน่งอะไรกันบ้าง ก่อนจะตัดสินใจผันตัวเองเข้าสู่สายงานนี้ 

Entry-Level 

  1. Cybersecurity Specialist หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบขององค์กร 
  2. Cyber Crime Analyst หรือ นักวิเคราะห์อาชญากรรมด้านไซเบอร์ ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและวิเคราะห์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมด้านไซเบอร์หรือการละเมิดความปลอดภัยในระบบข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร 
  3. Incident & Intrusion Analyst  หรือ นักวิเคราะห์การบุกรุกและปัญหาทางไซเบอร์ทำหน้าที่ในการค้นหาและตรวจจับการบุกรุกต่อระบบขององค์กร พร้อมทั้งวิเคราะห์เหตุการณ์ที่อาจเกิดการบุกรุกข้อมูล 
  4. IT Auditor. ทำหน้าที่ ในการตรวจสอบและประเมินระบบ IT เพื่อค้นหาปัญหาและข้อบกพร่อง พร้อมนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบ IT ให้มีประสิทธิภาพ 

Mid-Level 

  1. Cybersecurity Analyst. หรือ นักวิเคราะห์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำหน้าที่ วิเคราะห์ภัยคุกคามทางด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของการบุกรุก 
  2. Cybersecurity Consultant  หรือ ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หน้าที่คือให้คำแนะนำและบริการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านไซเบอร์สำหรับลูกค้าหรือองค์กรต่าง ๆ ในการป้องกันและรับมือกับการละเมิดความปลอดภัยในโลกดิจิทัล 
  3. Penetration & Vulnerability Tester หรือนักทดสอบเจาะระบบจะใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆ เช่น penetration testing frameworks เพื่อช่วยในการค้นหาช่องโหว่และประเมินความเสี่ยงในระบบข้อมูลและระบบเครือข่ายขององค์กร 

Advance-Level 

  1. Cybersecurity Manager ผู้บริหารด้านความปลอดภัยจะเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบในการเพิ่มประสิทธิภาพของการควบคุมความเสี่ยงและการป้องกันความเสี่ยงขององค์กร 
  2. Cybersecurity Architect หรือ สถาปนิกด้านความมั่นคงปลอดภัยมีหน้าที่ออกแบบระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยและทดสอบช่องโหว่ให้แก่องค์กร 
  3. Cybersecurity Engineer  หรือ วิศวกรความปลอดภัยทางไซเบอร์ทำหน้าที่ตั้งแต่การออกแบบการพัฒนา การปรับปรุง และรวมไปถึงการดูแลระบบความปลอดภัยขององค์กร  

Cyber Security อีกหนึ่งอาชีพของคนยุคใหม่ที่ท้าทายและผลตอบแทนสูง แต่ต้องแลกกับการรับแรงกดดันสูงและพัฒนาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การเข้าสู่สายงาน Cybersecurity จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้าน Computer Science และความเข้าใจด้าน Networking, Operating Systems และ Security Protocols นอกจากนี้สายงานอื่นๆ ก็สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ Cybersecurity เบื้องต้นด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยทางไซเบอร์ ทั้งในระดับส่วนบุคคลและองค์กร 

Credit : truedigitalacademy 

Shopping Cart
Scroll to Top