Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the health-check domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/wp-includes/functions.php on line 6121

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the spectra-pro domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/wp-includes/functions.php on line 6121
Case Studies of Successful Data Governance : กรณีศึกษาการจัดการข้อมูลที่ประสบความสำเร็จ - GreenGrapes (GG)

Case Studies of Successful Data Governance : กรณีศึกษาการจัดการข้อมูลที่ประสบความสำเร็จ

Case Studies of Successful Data Governance: เมื่อเราได้ศึกษาการจัดการข้อมูลมาพอสมควร เพื่อให้มองภาพชัดขึ้นถึงความสำคัญของการจัดการข้อมูลต่างๆนั้น เราจึงนำกรณีศึกษาของการจัดการข้อมูลที่ประสบความสำเร็จมาแสดงให้เห็นถึงการจัดการและควบคุมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในองค์กรต่างๆ โดยแต่ละกรณีศึกษาจะมีลักษณะเฉพาะและบริบทที่แตกต่างไป ซึ่งทำให้สามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในองค์กรอื่นๆได้ 
  1. Johnson & Johnson บริษัทข้ามชาติที่ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา และสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องการกรอบการจัดการข้อมูลที่แข็งแกร่งเพื่อจัดการข้อมูลที่หลากหลายขององค์กร

ปัญหาที่เกิดขึ้น : ข้อมูลลูกค้าและผลิตภัณฑ์กระจัดกระจายอยู่ในหลายระบบและแผนก ทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ 
วิธีการแก้ไขปัญหา :
1) นำแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูล “Master Data Management (MDM)” มาใช้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะให้กับพนักงานในการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 
2) สร้างมาตรฐานคุณภาพของข้อมูลและนำเครื่องมือการติดตามคุณภาพของข้อมูลมาใช้ 
3) การปฏิบัติตามกฎระเบียบอุตสาหกรรมผ่านการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
ผลลัพท์
1) ความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น 
2) สามารถรวมข้อมูลไว้ที่เดียวได้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

    1. General Electric (GE) : บริษัทข้ามชาติที่ดำเนินงานในหลายภาคส่วน รวมถึงการบิน การดูแลสุขภาพ และพลังงาน  

    ปัญหาที่เกิดขึ้น : ข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ในระบบต่างๆ ทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจยากลำบาก 
    วิธีการแก้ไขปัญหา :  
    1) นำโครงการ “Predix” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วยรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ 
    2) จัดตั้งกรอบการจัดการข้อมูลแบบรวมศูนย์เพื่อสร้างมาตรฐานในการจัดการข้อมูลทั่วทุกหน่วยธุรกิจของบริษัท 
    3) แต่งตั้งผู้ดูแลข้อมูลเพื่อรักษาคุณภาพ ความสม่ำเสมอ และความปลอดภัยของข้อมูล 
    ผลลัพท์ :  
    1) ความสามารถในการตัดสินใจที่ดีขึ้นผ่านข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเข้าถึงได้ 
    2) สามารถปรับปรุงการทำงานของเครื่องจักร ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน 

    1. American Express: บริษัทบริการทางการเงินที่เป็นที่รู้จักสำหรับบัตรเครดิต บัตรชาร์จ และการเดินทาง  
      ใช้การจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

    ปัญหาที่เกิดขึ้น : การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจำนวนมากเพื่อค้นหาความผิดปกติในการทำธุรกรรม 
    วิธีการแก้ไขปัญหา :  
    1) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อระบุพฤติกรรมการทุจริต 
    2) แต่งตั้ง Data Stewards ในทุกแผนกเพื่อดูแลคุณภาพและความสมบูรณ์ของข้อมูล 
    3) ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงเพื่อปกป้องข้อมูลลูกค้าและป้องกันการละเมิดข้อมูล 
    ผลลัพท์ :  
    1) สามารถลดการทุจริตในการทำธุรกรรมได้ และปรับปรุงความปลอดภัยให้กับลูกค้า 
    2) สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีข้อมูลรองรับในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ 
    3) ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่ได้รับการปกป้องอย่างดีทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการใช้บริการ 
    4) การใช้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ทำให้กระบวนการภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความซ้ำซ้อน 

    1. Procter & Gamble (P&G) : บริษัทสินค้าบริโภคชั้นนำ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทั่วโลกและขับเคลื่อนการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 

    ปัญหาที่เกิดขึ้น : ข้อมูลทางการตลาดและการขายมีจำนวนมากและซับซ้อน 
    วิธีการแก้ไขปัญหา :  
    1) พัฒนาแดชบอร์ดการวิเคราะห์ข้อมูลชื่อ “Business Sphere” ที่รวมข้อมูลจากหลายแหล่งและแสดงผลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย 
    2) สร้างเครือข่ายผู้ดูแลข้อมูลที่รับผิดชอบการจัดการคุณภาพและการจัดการข้อมูลในระดับท้องถิ่น 
    3) พัฒนากรอบการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง สม่ำเสมอ และปลอดภัย 
    ผลลัพท์ :  
    1) ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้ทันที ทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
    2) การวิเคราะห์ลูกค้าที่ดีขึ้นและกลยุทธ์การตลาดที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น 
    3) คุณภาพและความสม่ำเสมอของข้อมูลที่ดีขึ้นทั่วทั้งการดำเนินงานทั่วโลก 

    กรณีศึกษาดังกล่าวเน้นถึงความสำคัญของการจัดการข้อมูลในการขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ การสร้างวัฒนธรรมข้อมูล การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการจัดการคุณภาพของข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลรองรับและรักษาความไว้วางใจของลูกค้า 

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Data Governance ได้ที่

    Tel. 097-979-5656

    Line ID: @greengrapes

    Shopping Cart
    Scroll to Top