Data Governance คืออะไร? 

Data Governance คืออะไร? 

การกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) หรือ ธรรมาภิบาลข้อมูล คือ คือกระบวนการและแนวทางที่องค์กรใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง ปลอดภัย และสามารถใช้งานได้ตามความต้องการขององค์กร โดยครอบคลุมถึงการกำหนดนโยบาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่าง ๆตั้งแต่การจัดทำ การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลหรือใช้ข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ รวมถึงการทำลาย พร้อมกับการกำหนดมาตรการในการควบคุมและพัฒนาคุณภาพของข้อมูลให้มีความถูกต้อง พร้อมใช้ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันรวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆในการอนุญาตให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ชัดเจนมีมาตรการความมั่นคงปลอดภัย และไม่ให้มีข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิดเกิดขึ้น 

หากพูดเป็นหลักการภาพรวมที่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น Data Governance นั่นคือ แนวคิด และการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) ให้เป็นไปตามวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Lifecycle) อย่างมีระบบที่จะทำให้มีมาตรฐาน ซึ่งการกำกับดูแลข้อมูลให้เป็นไปตามวงจรชีวิตของข้อมูลนั้นจะเริ่มใช้ข้อมูลตั้งแต่สร้างข้อมูลไปจนถึงการทำลายข้อมูล ประกอบด้วย 6 ระยะดังนี้ 

1. การสร้างข้อมูล (Create) เป็นการสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยวิธีการบันทึกเข้าไปด้วยบุคคลหรือบันทึกอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ (Sensor) รวมถึงการซื้อข้อมูล หรือการรับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เพื่อนามาจัดเก็บในภายหลัง 

2. การจัดเก็บข้อมูล (Store) เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เกิดจากกระบวนการสร้างหรือข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่น เพื่อให้มีระเบียบ ง่ายต่อการใช้งาน ไม่สูญหายหรือถูกทำลาย และให้ผู้ใช้งานสามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว  

3. การใช้ข้อมูล (Use) เป็นการนำข้อมูลที่จัดเก็บมาประมวลผล เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทารายงาน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ รวมถึงการสำรอง (Backup) ข้อมูล โดยการคัดลอกข้อมูลที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทำสำเนา 

4. การเผยแพร่ข้อมูล (Publish) เป็นการแชร์ข้อมูล (Sharing) การกระจายข้อมูล (Dissemination) การควบคุมการเข้าถึง (Access Control) การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Exchange) และการกำหนดเงื่อนไขในการนาข้อมูลไปใช้ (Condition) 

5. การจัดเก็บข้อมูลถาวร (Archive) เป็นการคัดลอกเอาข้อมูลที่มีช่วงอายุเกินช่วงใช้งานหรือไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อทำสำเนาสำหรับการเก็บรักษา โดยที่ข้อมูลนั้นไม่มีการลบ ปรับปรุง หรือแก้ไขอีก และสามารถนำกลับไปใช้งานได้ใหม่เมื่อต้องการ 

6. การทำลายข้อมูล (Destroy) เป็นการทำลายข้อมูล ซึ่งปกติจะเป็นการทำลายข้อมูลที่มีการจัดเก็บถาวรเป็นระยะเวลานานหรือเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด 

ทั้งนี้ Data Governance จัดตั้งโดยองค์กร DAMA International  คือ สมาคมระดับโลกที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยไม่แสวงผลกำไร และเป็นอิสระ โดยมีพันธกิจเพื่อพัฒนาแนวคิดและแนวปฏิบัติด้านข้อมูลและการจัดการข้อมูล และวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่ประโยชน์ต่อบุคคลใดก็ตามที่มีต้องเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูลในองค์กร เนื่องจากการจัดการข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานต้องตระหนักว่าข้อมูลที่มีอยู่เป็นสินทรัพย์ที่มีค่า และจากการเกิดขึ้นของข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาโดยอัตโนมัติจากระบบหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูลหรือโต้ตอบกับผู้ใช้งาน เพื่อให้หน่วยงานสามารถนาข้อมูลเหล่านี้ไปประมวลผลหรือใช้ในการตัดสินใจได้อย่างแม่นยา จึงต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลจาก : DGA – Digital Government Development Agency

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Data Governance ได้ที่

Tel. 097-979-5656

Line ID: @greengrapes

Shopping Cart
Scroll to Top