ในการวางระบบการกำกับดูแลข้อมูล สิ่งแรกควรมีการกำหนดบทบาท (Roles) และความรับผิดชอบ (Responsibilities) ที่เหมาะสมมีความชัดเจนจะนำไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการวางระบบที่ดี สำหรับรายละเอียดการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบที่ดีควรมีรายละเอียดดังนี้
- คณะกรรมการขับเคลื่อนการกากับดูแลข้อมูล (Data Governance Steering Committee) เป็นผู้มีอานาจสูงสุดในการขับเคลื่อนให้เกิดการกากับดูแลข้อมูล โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล สนับสนุน กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- คณะกรรมการการกับดูแลข้อมูล (Data Governance Council) เป็นกลุ่มบุคคลที่ริเริ่ม ทำหน้าที่ กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ข้อเสนอแนะ และอนุมัตินโยบายข้อมูล มาตรฐานข้อมูล แนวทางปฏิบัติงาน เกณฑ์การวัดคุณภาพ ระเบียบ และข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งคณะกรรมการจะเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงาน (Chief Executive Officer) ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับสูง (Chief Information Officer) และผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (Chief Data Officer)
- บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ (Business Data Stewards) คือ บุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการนิยาม ความต้องการด้านคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยซึ่งอาจจะได้รับมาจากผู้ใช้ข้อมูล (Data Users) หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ รวมถึงนิยามคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลหรือเมทาดาตา (Meta Data) โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากผู้ใช้ข้อมูล สถาปนิกข้อมูล (Data Architects) และนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) รวมถึงการร่างนโยบายหรือการทบทวนนโยบายข้อมูลด้วยการช่วยเหลือจากทีมบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Team) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายข้อมูล ตรวจสอบคุณภาพ ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล วิเคราะห์ผลจากการตรวจสอบ แล้วรายงานผลลัพธ์ไปยังคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้ทราบ บริกรข้อมูลด้านธุรกิจมักจะเป็นบุคคลที่มาจากฝ่ายธุรกิจแต่มีความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ เช่น ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และการปฏิบัติตามนโยบายข้อมูลในเชิงเทคนิค
- บริกรข้อมูลด้านคุณภาพข้อมูล (Data Quality Stewards) คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ดำเนินการในเรื่องคุณภาพข้อมูล เช่น กำหนดนโยบายข้อมูลด้านคุณภาพ การตรวจวัดคุณภาพข้อมูล และการวิเคราะห์คุณภาพข้อมูล
- เจ้าของข้อมูล (Data Owners) คือ บุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลโดยตรง สร้างความมั่นใจได้ ว่าการบริหารจัดการข้อมูลสอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐาน กฎระเบียบ หรือกฎหมาย เจ้าของข้อมูลทำการทบทวนและอนุมัติการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น การเปลี่ยนแปลงเมทาดาตาและเกณฑ์การทำดาตาคลีนซิ่ง (Data Cleansing) นอกจากนี้ยังหน้าที่ในการให้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและจัดชั้นความลับ ของข้อมูล เจ้าของข้อมูลมักจะอยู่ในตำแหน่งบริหาร เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายหรือหัวหน้าส่วนงานบุคคลเป็นเจ้าของข้อมูลบุคคล ผู้อำนวยการฝ่ายหรือหัวหน้าส่วนงานการเงินเป็นเจ้าของข้อมูลการเงิน
- ทีมบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Team) มีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการข้อมูล สอดคล้องกับองค์ประกอบตามDama wheel ซึ่งมักจะเป็นเจ้าหน้าที่ภายในฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ประกอบด้วย สถาปนิกข้อมูล (Data Architects) นักจัดการฐานข้อมูล (Database Administrators – DBA) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysts) และนักวิทยาการข้อมูล (Data Scientists) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายข้อมูล ทีมบริหารจัดการข้อมูล สนับสนุนกิจกรรมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
- ผู้สร้างข้อมูล (Data Creators) คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ บันทึก แก้ไข ปรับปรุง หรือลบข้อมูลให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่ถูกกำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการทำงานร่วมกับบริกรข้อมูล เพื่อตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัย
- ผู้ใช้ข้อมูล (Data Users) คือ บุคคลที่ทำหน้าที่นำข้อมูลไปใช้งานทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร และสนับสนุนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐโดยการให้ความต้องการในการใช้ข้อมูล พร้อมทั้งรายงานประเด็นปัญหาที่พบระหว่างการใช้ข้อมูล ทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยของข้อมูลไปยังบริกรข้อมูล
ทั้งนี้ นอกจากโครงสร้างของบุคลากรที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลข้อมูลดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน เพื่อมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงทั้งด้านความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความเป็นส่วนบุคคล หรือการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : DGA – Digital Government Development Agency
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Data Governance ได้ที่
Tel. 097-979-5656
Line ID: @greengrapes